http://kaireyah.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 อัลกุรอ่าน

 วีดีโอ

 อิสลามใหม่

 ข่าวสารอิสลาม

 กุรอ่านแปลไทย

 ดุอาพื้นฐาน

 ติดต่อเรา

บริการ

หน้าแรก
บทความศาสนา
ฟังอัลกุรอ่าน
สนใจอิสลาม
ตัฟซีรกุรอาน
เว็บบอร์ด
เทปเรียนวันอาทิตย์
ตัฟซีรอัลกุรอ่าน
เวลาละหมาด จ.สตูล
รวมรูปภาพ
สมัครสมาชิก
สั่งซื้อสินค้า
ฆัยรียะฮ์เทรเวล
ดาวโหลดโปรแกรม
thai-school

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สินค้า

 เบเกอรี่ฆัยรีย๊ะ
 น้ำดื่มฆัยรีย๊ะฮ์

บทดุอา

รับฟังรายการ

อัลฮาดิษ

หนังสือน่าอ่าน

บทความศาสนา

ทีวีมุสลิม

นำโค๊ดไปติดเว็บ

ร่วมพูดคุย

สถิติ

เปิดเว็บ13/02/2008
อัพเดท07/03/2024
ผู้เข้าชม431,215
เปิดเพจ540,989
สินค้าทั้งหมด5
iGetWeb.com
AdsOne.com

ความเป็นพี่น้องในญะมาอะฮฺ

ความเป็นพี่น้องในญะมาอะฮฺ
ความเป็นพี่น้องในญะมาอะฮฺ
29-07-2008 Views: 163

ความเป็นพี่น้องในญะมาอะฮฺ

إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ

บรรดาผู้ศรัทธา(ที่แท้จริง)นั้น เป็นพี่น้องกัน ..

กระบวนการสร้างความเป็นพี่น้องภายในญะมาอะฮฺฺ

อัล อัค เรียบเรียง

     ญะมาอะฮฺ (กลุ่มคณะ)เปรียบเสมือนสิ่งก่อสร้าง ซึ่งความคงทนแข็งแรงของมันขึ้นอยู่กับการยึดเหนี่ยวจับตัวระหว่างอิฐกับปูน ในทำนองเดียวกัน ญะมาอะฮฺจะแข็งแกร่งได้ต่อเมื่อดวงจิตของบรรดาสมาชิกต่างยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่นเท่านั้น และสิ่งที่ดีที่สุดที่จะยึดเหนี่ยวให้พวกเขารวมตัวกันได้ คือ “อัล-อิควะฮฺ-ความเป็นพี่น้อง” ที่มีต่อกันอย่างจริงใจ นี่คือ“ศีฟัต-ลักษณะ” บางอย่างของญะมาอะฮฺที่ไม่มี“ความเป็นพี่น้อง” เป็นพื้นฐาน

    * ดวงจิตมีแต่ความจงเกลียดจงชังกัน ซึ่งไม่มีทางที่จะนำมาประสานกันได้

    * ที่ประชุมมีแต่ความตลบแตลง ย่อมไม่สามารถสร้างความเป็นหนึ่งเดียวได้

    * มิตรภาพวางอยู่บนความเห็นแก่ตัว คือลางบอกเหตุแห่งความแตกแยก

    * การสังสรรค์แห้งแล้งไร้น้ำใจ ไม่อาจกลายเป็นบ่อเกิดแห่งความเมตตาและเห็นอกเห็นใจกัน

    อาจเป็นไปได้ว่าญะมาอะฮฺที่มีลักษณะดังกล่าวสามารถรวมตัวกันได้ด้วยปัจจัยหรือผลประโยชน์บางอย่าง แต่สุดท้ายมันจะแตกสลายไป และแทนที่จะช่วยอะไรให้ดีขึ้น มันกลับกลายเป็นการบ่อนทำลายให้พินาศย่อยยับเสียด้วยซ้ำไป ญะมาอะฮฺที่แข็งแกร่งและสามารถดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อบรรดาสมาชิกมีความเป็นพี่น้องระหว่างกัน มีการแสดงทัศนะของตนออกมาด้วยน้ำใสใจจริง ไม่ซ่อนเร้นอำพรางสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ ไม่ อวดอ้างภูมิปํญญา มีความซื่อสัตย์และความจริงใจระหว่างกัน ญะมาอะฮฺเช่นนี้แหละที่จะสามารถประสานดวงจิตระหว่างบรรดาสมาชิกเข้าด้วยกัน ได้ เพื่อ ที่จะให้เกิดการสั่งสมความเป็นพี่น้องให้เกิดขึ้นในหมู่สมาชิกของญะมาอะฮฺ คำสอนแห่งอิสลามจึงได้นำระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนในการสถาปนาความเป็นพี่น้อง ให้มีขึ้น จนกลายเป็นรากฐานการเคลื่อนไหวที่เป็นเอกภาพและมั่นคง

    ประการที่หนึ่ง: จะต้องไม่มีเป้าหมายอื่น เว้นแต่อัลลอฮฺ อิสลามเริ่มต้นด้วยการตอกย้ำอย่างมากมายให้มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆโดยมี “อัลลอฮฺเป็นเป้าหมาย” อิสลามไม่ยอมรับการทำดีที่มุ่งหวังต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งจะนำไปสู่การเตือนให้ผู้อื่นรำลึกถึงความดีที่ตนได้กระทำไป และการลำเลิก พฤติกรรมเช่นนี้ซ่อนเจตนาที่สกปรกและเป็นเหตุให้เกิดการเราะราน และสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น อัลลอฮฺกล่าวว่า

 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ لاَ تُبْطِلُواْ صَدَقَاتِكُم بِالْمَنِّ وَالأذَى كَالَّذِي يُنفِقُ مَالَهُ رِئَاء النَّاسِ

“บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าทำให้กุศลทานของสูเจ้าไรัผล ด้วยการลำเลิกและเราะรานประหนึ่งผู้บริจาคของเขาเพื่อ(อวดอ้าง) ให้มนุษย์ได้เห็น ... ” ( 2:264)

    ผู้ศรัทธาคือผู้ที่มีจิตวิญญาณที่มั่นคงที่จะทำทุกอย่างเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺเท่านั้น ส่วนจุดหมายของพวกสับปลับก็คือ การแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์ด้วยกัน ผลร้ายของความชั่วร้ายนี้ไม่เพียงแต่ทำให้การงานในโลกหน้าของเขาสูญเปล่าเท่านั้น มันยังทำให้มนุษย์มุ่งทำงานเฉพาะที่ปรากฏต่อสาธารณชนเท่านั้น ก่อให้เกิดการอวดอ้างความดี และการทับถมระหว่างกัน

    ประการที่สอง: ปฏิเสธการเอาตัวเองเป็นใหญ่ อิสลามประณาม“การยึดเอาตัวเองเป็นเจ้า” อันได้แก่ ความหยิ่งยะโสและการหลงตน การคิดว่าตนเองมีความสำคัญเหนือกว่าคนทั้งหลาย การวางตัวอวดโต การคุยโม้โอ้อวด อัลลอฮฺได้กล่าวว่า

 وَلَا تُصَعِّرْ خَدَّكَ لِلنَّاسِ وَلَا تَمْشِ فِي الْأَرْضِ مَرَحاً إِنَّ اللَّهَ لَا يُحِبُّ كُلَّ مُخْتَالٍ فَخُورٍ وَاقْصِدْ فِي مَشْيِكَ وَاغْضُضْ مِن صَوْتِكَ إِنَّ أَنكَرَ الْأَصْوَاتِ لَصَوْتُ الْحَمِيرِ.

“และจงอย่าหันแก้มสูเจ้าอย่างยะโสจากผู้คน และจงอย่าสัญจรตามแผ่นดินอย่างทรนง แท้จริง อัลลอฮฺมิทรงรักทุกๆผู้โอหัง ผู้คุยโว และจงสำรวมตนในการสัญจรของเจ้า(คือสุภาพและสงบเสงี่ยม) และจงลดเสียงของเจ้าให้อ่อน(อย่าแข็งกร้าว) แท้จริงเสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง(ร้อง)ของลา” (31:18-19)

 وَلاَ تَمْشِ فِي الأَرْضِ مَرَحاً إِنَّكَ لَن تَخْرِقَ الأَرْضَ وَلَن تَبْلُغَ الْجِبَالَ طُولاً

“และจงอย่าสัญจรตามแผ่นดินอย่างทะนง แท้จริงเจ้าจะแยกแผ่นดินไม่ได้เลย(ด้วยการย่ำเท้าอย่างจองหอง) และแม้จะเอื้อมถึงภูเขาสูง(ด้วยการเดินชูคอ)ไม่ได้เด็ดขาด” (17:37)

    ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ยอมรับการโอ้อวด และรังเกียจการอวดอ้างหลอกลวง มนุษย์ทั่วไปจะไม่พอใจบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว แม้ว่าความจริงแล้วบุคคลนั้นอาจจะไม่สามารถทำอันตรายใครได้ก็ตาม ธรรมชาติของมนุษย์ก็ขุ่นเคืองที่จะเห็นการแสดงออกด้วยการยกย่องตนเองเกินความจริง

    ประการที่สาม: ทำลายเมล็ดพันธ์แห่งความแตกแยก อิสลามห้ามสิ่งใดก็ตามที่จะ“ละเมิดเกียรติยศ”ของ มนุษย์ด้วยกัน หรือที่ดูถูกความรู้สึกและคุณค่าของมนุษย์ ไม่ว่าคำพูดหรือกิริยาที่เหยียดหยามสบประมาทระหว่างกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อัลลอฮฺกล่าวว่า

 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا يَسْخَرْ قَومٌ مِّن قَوْمٍ

“บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าให้ชนหมู่หนึ่งเยาะเย้ยชนอีกหมู่... ” (49:1)

 يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اجْتَنِبُوا كَثِيراً مِّنَ الظَّنِّ إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ

"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงหลีกให้พ้นจากส่วนมากของการสงสัย แท้จริงการสงสัยบางชนิดเป็นบาป... ” (49: 12)

وَلَا تَجَسَّسُوا ... .

“...และจงอย่าสอดแนม ... ” (49: 12)

 ... وَلَا يَغْتَب بَّعْضُكُم بَعْضاً أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَن يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتاً فَكَرِهْتُمُوهُ

"...และจงอย่านินทาลับหลังกันและกัน ผู้ใดในหมู่สูเจ้าชอบที่จะกินเนื้อของพี่น้องที่ตายแล้วของเขากระนั้นหรือ ทั้งๆที่สูเจ้ารังเกียจมัน ... ” (49: 12)

    บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการระแวง การนินทาลับหลัง การกุข่าว การซุบซิบ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความแตกแยก แม้แต่ญะมาอะฮฺที่มีการจัดระบบที่ดีที่สุดก็จะระส่ำได้ สุดท้ายสมาชิกในญะมาอะฮฺก็จะต่อสู้กันเอง บรรยากาศเหล่านี้จะต้องถูกสกัดไม่ให้เกิดขึ้น

    ประการที่สี่: ปฏิบัติระหว่างกันด้วยความรู้สึกเอื้ออาทร อิสลามเรียกร้องอย่างจริงจังให้ปฏิบัติระหว่างกันด้วยพื้นฐานของ“ความเอ็นดูเมตตา” ความเมตตากรุณาและเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน ถือว่ามีความหมายเท่ากับ“ความรัก” จึงจำเป็นให้มีการเสียสละในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือระหว่างกัน ให้มีการอภัยต่อความผิดพลาดต่าง ๆ อัลลอฮฺได้บอกผู้ศรัทธาให้รำลึกถึงว่าพระองค์ได้ส่งศาสนทูตที่มีความเมตตาแก่พวกเขา

 لَقَدْ جَاءكُمْ رَسُولٌ مِّنْ أَنفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُم بِالْمُؤْمِنِينَ رَؤُوفٌ رَّحِيمٌ

“แน่นอนยิ่ง(มนุษย์เอ๋ย! บัดนี้) ได้มีมายังสูเจ้าแล้วซึ่งเราะซูลคนหนึ่งจากหมู่สูเจ้าเอง เป็นกังวลแก่เขา(ในเรื่อง) ที่ให้ทุกข์แก่สูเจ้า เป็นห่วง(หวังดี)สูเจ้า (และ)แก่ผู้ศรัทธานั้น เขาเป็นผู้เอ็นดู เป็นผู้เมตตาเสมอ” (9:128)

 وَإِن تَعْفُوا وَتَصْفَحُوا وَتَغْفِرُوا فَإِنَّ اللَّهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ

 “…แต่ถ้าสูเจ้าอภัยและมองข้าม(ข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆของพวกเขา) และยกโทษ(จงรู้ไว้เถิดว่า) แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (64:14)

 َبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللّهِ لِنتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنتَ فَظّاً غَلِيظَ الْقَلْبِ لاَنفَضُّواْ مِنْ حَوْلِكَ

“เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮฺ เจ้า (มุหัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆเจ้ากันมอบหมาย ...”(3:159)

    ฉะนั้น ความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจกัน หมายถึงการให้ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เพื่อป้องกันไม่ให้พี่น้องคนใดคนหนึ่งตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์หรือความไม่สบายอกสบายใจ ผู้ศรัทธาจึงต้องพยายามเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ซักถามข่าวคราว เยี่ยมเยียน และหาวิธีช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ

    ประการที่ห้า: ตอบแทนความไม่ดีด้วยความดีงาม อิสลามมีคำสั่งอย่างแข็งขันให้สร้าง“สัมพันธภาพที่ดี” ระหว่างกัน ดังบางส่วนที่อัลลอฮฺได้กล่าวไว้

 وَلَا تَسْتَوِي الْحَسَنَةُ وَلَا السَّيِّئَةُ ادْفَعْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ فَإِذَا الَّذِي بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ عَدَاوَةٌ كَأَنَّهُ وَلِيٌّ حَمِيمٌ

“และความดีและความชั่วนั้นไม่เหมือนกัน จงบำราบ(หรือขับไล่ความชั่ว)ด้วย (คุณธรรม)ที่ดียิ่ง แล้วเมื่อนั้น จงดูเถิดผู้ที่ได้มีการเป็นศัตรู ในระหว่างเจ้า และเขาจะเป็นเยี่ยงมิตรที่อบอุ่น (ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกัน)”(41:34)

    พื้นฐานการคบหาสมาคมระหว่างกันด้วยการปฏิบัติระหว่างกันคือ “ความสุภาพอ่อนโยน” ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกในเรื่องต่างๆ การสนทนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทักทายกัน แม้ว่าอีกฝ่ายจะปฏิบัติอย่างไม่เป็นสุภาพชนก็ตาม

    ประการที่หก: ใช้การปรึกษาหารือนำการแก้ปัญหา อิสลามต้องการให้มี “ชูรอ-การปรึกษาหารือและการแก้ปัญหาร่วมกัน” เพื่อให้สมาชิกของญะมาอะฮฺเกิดความรู้สึกต่อปัญหาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกัน หลักการปรึกษาหารือจึงถูกประทานให้มา อัลลอฮฺกล่าวว่า ...

وَشَاوِرْهُمْ فِي الأَمْر ...

“... และจงปรึกษาหารือกันพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ...”(3:159)

وَالَّذِينَ اسْتَجَابُوا لِرَبِّهِمْ وَأَقَامُوا الصَّلَاةَ وَأَمْرُهُمْ شُورَى بَيْنَهُمْ ...

“และบรรดาผู้ตอบรับต่อพระเจ้าของพวกเขาและดำรงละหมาด และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือระหว่างพวกเขา ...”(42:38)

    เมื่อคนใดคนหนึ่งประสบปัญหาหรืออุปสรรคส่วนตัว ก็ควรเปิดเผยด้วยความจริงใจ ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยจิตใจแห่งความเป็นพี่น้อง วิธีดังกล่าวจะทำให้เกิด“การไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน”

    ประการที่หก: สร้างกิจกรรมร่วมกัน อิสลามสนับสนุนให้มุสลิมมี“กิจกรรมร่วม”ระหว่างกัน เพราะจะช่วยให้แต่ละคนรู้จักกัน(ตะอารุฟ)ในสภาพต่างๆ เรียนรู้อุปนิสัยในคอระหว่างกัน เข้าใจความรู้สึกของพี่น้อง การ มีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอมีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ เช่น การจัดให้มีการนมาซญะมาอะฮฺ อ่านมะอฺษูรอตร่วมกัน ถือศีลอดและละศีลอดร่วมกัน หรือกิจกรรมเชิงวิชาการ เช่น การจัดหลักสูตรเรียนภาษา การจัดรายการการศึกษาในหัวข้อต่างๆ การทัศนะศึกษาร่วมกัน แม้แต่กิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น

 إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الَّذِينَ يُقَاتِلُونَ فِي سَبِيلِهِ صَفّاً كَأَنَّهُم بُنيَانٌ مَّرْصُوصٌ

แท้จริง อัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่ต่อสู้ในทางของพระองค์เป็นแถวเดียวกัน ประหนึ่งพวกเขาเป็นอาคารที่ยึดมั่นแข็งแรง”(61:4)

    ญะมาอะฮฺจะต้องพยายามสร้างตัวขึ้นมาบนพื้นฐานของความเป็นพี่น้องอย่างเป็น“ขั้นตอน” ไม่ฝืนธรรมชาติ ญะ มาอะฮฺต้องรับรู้ความจริงว่าความเป็นพี่น้องจอมปลอมที่แสแสร้งขึ้น สามารถมองเห็นได้ทันที อันจะทำให้บรรยากาศของญะมาอะฮฺมีแต่ความกระด้าง ขาดชีวิตชีวา การคบหาสมาคมกันก็มีแต่ความผิวเผิน ญะมาอะฮฺใดที่สามารถสร้างความเป็นพี่น้องในความหมายที่แท้จริงได้ เปรียบเสมือนเบ้าหลอมอันแข็งแกร่ง ซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะหาช่องเข้าไปแทรกแซงให้เกิดการแตกร้าวได้ แม้มันจะระดมการต่อต้านอย่างหนักก็ตาม ก็ไม่สามารถทำให้เบ้านี้สั่นสะเทือนได้แม้แต่น้อย ..........

............................................................................................. 

    หมายเหตุ ผู้ เรียบเรียงใช้คำว่า “ญะมาอะฮฺ” (กลุ่มคณะ) ในความหมายเฉพาะก็หมายถึงกลุ่มทำงานใดกลุ่มทำงานหนึ่ง แต่ก็ไม่ควรตีกรอบแค่นั้น มันยังหมายถึงระหว่างกลุ่มทำงาน ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วถือว่าเป็น “ญามาอะฮฺ” ที่แท้จริง หากว่าแต่ละกลุ่มวางอยู่บนหลักการของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ นอกจากนี้ยังหมายถึง “สังคมผู้ศรัทธา” โดยรวมอีกด้วย สำหรับเนื้อหาข้างต้น ผู้เรียบเรียงขอให้เครดิตต่อ ซัยยิด อบุล อะอฺลา เมาดูดียฺ / ซัยยิด กุฏบฺ / อิหม่ามหะสัน อัลบันนา เพราะผู้เรียบเรียงสรุปมาจากหนังสือหลายๆเล่มของพวกท่าน

http://www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=233&Itemid=1


Tags :

view

 Muslimthai

 บรรยายธรรมอิสลาม

 คณะกรรมการกลางอิสลาม

วิทยุเสียงอิสลาม

 อิสลามอินไทยแลนด์

อนาชีด

view